วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ต้นกระดังงา

          ในวันนี้ วันที่ 23 ตุลาคม 2557 ตรงกับวันปิยะมหาราช กระผมขอนำเสนอ ไม้ที่ว่าปลูกแล้วจะทำให้เรามีชื่อเสียงโด่งดัง ไม้นั้นมีชื่อว่า ต้นกระดังงา
          กระดังงามีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เอเซียเขตร้อนในแถบของประเทศฟิลิปปินส์และประเทศอินโดนีเซีย เป็นไม้ยืนต้น ความสูง 8-15 เมตร เป็นพุ่มทรงโปร่ง ออกดอกตลอดปี ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอก กลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ตอนเช้าและเย็น โดยเริ่มออกดอกเมื่อ ปลูกได้ประมาณ 3 ปี สูง 7 - 8 เมตร จึงจะออกดอก
         ความเชื่อ ต้นกระดังงา คือ การทำให้ เกิดเสียงดังไปไกล เมื่อกระดังนั้น มีความคล้องจองกับ กระดังงา ชาวไทยโบราณ จึงเชื่อสืบต่อกันว่า ชื่อกระดังงานั้น มีความหมายที่ดี และยังถือได้ว่า เป็นต้นไม้ที่มีชื่อ เป็นสิริมงคลอีกชนิดหนึ่ง

          การปลูกต้นกระดังงา เอาไว้ภายใน บริเวณบ้านนั้น จะช่วยให้สมาชิกในบ้าน รวมทั้ง วงศ์ตระกูล มีชื่อเสียงโด่งดัง ก้องกังวานไปแสนไกล และมีลาภยศสรรเสริญ ผู้คนทั่วไปต่างก็รู้จัก และ นับหน้าถือตา ยังมีความเชื่ออีกว่าเสียงที่ดังนั้นมีความไพเราะ เพราะพริ้งมาก และดังก้องไปจนถึงสวรรค์ชั้นฟ้า ให้เทพบุตรเทพธิดาได้ยินเลยทีเดียว นอกจากนั้น กระดังงายังเสริมมงคลในทางเสน่ห์ คือ จะเสริมให้คุณ มีเสน่ห์เป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป และมีชีวิตที่งดงามหอมนวลตลอดไป


ชื่อพื้นเมือง : กระดังงา (ตรัง, ยะลา), กระดังงาไทย กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ (ภาคกลาง), สะบัน                        งา สะบันงาต้น (ภาคเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cananga odorata (Lamk.) Hook.f. et Th.

ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

ชื่อสามัญ : Ylang-ylang Tree

        ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ ไทยใช้ดอกกระดังงาปรุงยาบางตำรับเพื่อแก้ลมและบำรุงเลือด ใบและเนื้อไม้ต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ นอกจากนี้ ยังใช้อบน้ำทำน้ำเชื่อมและปรุงขนมหวานบางชนิด อินโดนีเซียใช้เปลือกแก้คัน มาเลเซียใช้ใบแก้คัน และใช้ดอกปรุงในยารักษาโรคหืด


แหล่งมาที่ : th.wikipedia.org/wiki/กระดังงา ,www.nanagarden.com/




วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ต้นขนุน


ฝันเห็น ขนุน กินขนุน หรือเห็นต้นขนุนออกลูกเต็มต้น

          ในสัปดาห์นี้ขอเสนอไม้มงคลที่มีชื่อว่า ต้นขนุน ขนุนเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ อยู่ในวงศ์เดียวกับสาเก สูง 15-30 เมตร ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ขนาดกว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร ปลายใบทู่ถึงแหลม โคนใบมน ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบหนา ดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดแยกเพศอยู่รวมกัน เป็นช่อสีเขียว อัดกันแน่น แยกเพศ แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้ออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ เป็นแท่งยาว ช่อดอกตัวเมียเป็นแท่งกลมยาว ออกตามลำต้นหรือกิ่งใหญ่ เมื่อติดผล ดอกทั้งช่อจะเจริญร่วมกันเป็นผลรวมมีขนาดใหญ่ โดย 1 ดอกกลายเป็น 1 ยวง ในผล ผลดิบเปลือกสีเขียว หนามทู่ ถ้ากรีดเปลือกจะมียางเหนียว เมื่อแก่ เปลือกสีน้ำตาลอ่อนอมเหลือง หนามจะป้านขึ้น ภายในผลมีซังขนุนหุ้มยวงสีเหลืองไว้ เมล็ดอยู่ในยวก
                                 ขนุน
          ความเชื่อขนุนนับได้ว่าเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งของคนไทย กำหนดปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ (หรดี) ตามโบราณเชื่อกันว่า การปลูกต้นขนุนในบริเวณบ้านจะหนุนเนื่อง บุญบารมี เงินทอง จะมีคนเกื้อหนุน และอุดหนุนจุนเจือ นอกจากนี้ชาวเหนือใช้ใบขนุนร่วมกับใบพุทรา ใบพิกุล นำมาซ้อนกันแล้วนำไปไว้ใน ยุ้งข้าวตอนเอาข้าวขึ้นยุ้งใหม่ๆ เชื่อกันว่าจะทำให้หนุนนำและส่งผลให้มีข้าวกินตลอดปีและตลอดไป

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus heterophyllus Lamk.

ชื่อวงศ์ : MORACEAE

ชื่อสามัญ : Jack Fruit Tree

ชื่อท้องถิ่น

  • ภาคเหนือ-ใต้ เรียก ขะหนุน
  • ภาคอีสาน เรียก หมักหมี้, บักมี่
  • จันทบุรี เรียก ขะนู
  • มลายู-ปัตตานี เรียก นากอ
  • ชาวบน-นครราชสีมา เรียก โนน
  • เขมร เรียก ขนุน, ขะเน

การปลูก

โดยการเพาะเมล็ด ปลูกทั่วไปในสวนและบริเวณบ้าน

สรรพคุณทางยา

  • ใบ รสฝาดมันรักษาหนองเรื้อรัง และใบสดนำมาตำให้ละเอียดอุ่นพอกแผล
  • ราก รสหวานอมขม แก้ท้องร่วง แก้ไข้ แก้ธาตุน้ำกำเริบ โลหิตพิการ ฝาดสมานบำรุงกำลัง และบำรุงโลหิต
  • แก่นและราก รสหวานอมขม บำรุงโลหิต แก้กามโรค ขับพยาธิ ระงับประสาท และแก้โรคลมชัก
  • ยาง รสจืด ฝาดเฝื่อน แก้อักเสบบวม แผลมีหนองเรื้อรัง แก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ขับพยาธิ และขับน้ำนม
  • เนื้อหุ้มเมล็ด รสหวานมันหอม บำรุงกำลัง และชูหัวใจให้ชุ่มชื่น
  • เนื้อในเมล็ด รสหวานมัน บำรุงน้ำนม ขับน้ำนม และบำรุงกำลัง
                          
แหล่งที่มา:http://www.panmai.com/ ,th.wikipedia.org/wiki/ขนุน