วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

ต้นมะตูม

             ในวันนี้เป็นวันที่ 1 ตุลาคม ก็ใกล้วันนวราตรีของ ศาสนาฮินดู เข้ามาทุกวัน ในวันนี้ผมจึงขอเสนอ ไม้มงคลที่มีชื่อว่า ต้นมะตูม
          มะตูมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 10-15 เมตร มีหลายชื่อ เช่น ตูม, กระทันตาเถร, มะปิ่น มะตูมมีใบใหญ่ยาวสีเขียวอ่อน ลำต้นโตสีเทา มีหนามแหลม ดอกมีสีขาวกลิ่นหอม ผลกลมโต เปลือกแข็ง เนื้อข้างในมีสีนวลเหลืองอ่อน มีเมล็ดมาก ยางรอบเมล็ดเป็นเมือกเหนียว เนื้อจากผลแก่จัดนำมาเชื่อมกับน้ำตาล เป็นมะตูมเชื่อม เอาผลอ่อนมาหั่นบางๆ ตากแดดใช้เป็นชามะตูมต้มน้ำมา 
           ต้นมะตูมปลูกได้ทุกภาค การปลูกนิยมตอนกิ่งมาปลูก หรือขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดก็ได้ มะตูมเป็นไม้ปลูกกลางแจ้งและทนต่อความร้อนได้ดี โดยเพาะต้นกล้าในถุงพลาสติก รอจนต้นแข็งแรงจึงเอาไปปลูกในหลุม ดูแลรดน้ำเป็นระยะ อายุ 3 ปีขึ้นไปจึงออกดอกระหว่างเดือนมีนาและเมษายน ผลมะตูมมีคั่วผลเหนียว เปลือกผลแข็งไม่มีศัตรูรบกวน สามารถปลูกเป็นไม้เศรษฐกิจ เพาะต้นขาย หรือเป็นไม้ล้อม มะตูมป่ารากแผ่ไปไกลสามารถแตกเป็นต้นแทนต้นเก่า 

          มะตูมเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย ถือเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์เป็นตัวแทนของพระอิศวร ตามความเชื่อในเรื่องการปลูกต้นไม้ตามทิศกล่าวว่า ปลูกมะตูมทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้าน จะช่วยป้องกันเสนียดจัญไร และเป็นมงคลนามให้ผู้อยู่อาศัยมีชื่อเสียงเรียงนามดังตูมตามลือเลื่อง 
          ด้วยลักษณะของใบมะตูมที่มีแฉก 3 แฉก คล้ายตรีศูล อาวุธขององค์พระอิศวร ก็ยิ่งสอดคล้องกับความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ที่กล่าวว่าต้นมะตูมเป็นไม้ ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อมีการบูชาพระอิศวรจะมีการถวายใบมะตูมพร้อมท่องมนต์ หรือใช้ใบมะตูมแช่ในน้ำมนต์หรือวางไว้ใต้ตำรา มีความหมายว่าเบิกบาน ตูมแตกหน่อขึ้นมา 


         เมื่อศาสนาพราหมณ์เผยแผ่เข้าสู่ประเทศไทย เราก็ได้รับอิทธิพลในการนำใบมะตูมมาใช้ในพิธีสำคัญต่างๆ ด้วย เช่น ในพิธีแรกนาขวัญ พิธีแต่งงาน รวมถึงเอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มที่จะไปรับราชการในต่างประเทศ และเข้าเฝ้าฯ กราบบังคมทูลลา พระมหากษัตริย์จะพระราชทานใบมะตูมทัดหู เป็นต้น 
กล่าวกันว่าใบมะตูมช่วยขับไล่เสนียดจัญไรได้ ชนิดที่ว่าใครที่โดนผีเข้าเอาใบมะตูมเหน็บหูผีจะออกทันที (ความเชื่อ) 
          ในทางพุทธศาสนา เชื่อกันว่าพระพรหมเคยถวายผลมะตูมแด่องค์พระศาสดา และพระองค์ได้ประสาทมงคลพรไว้ว่า มะตูมเป็นผลไม้ที่ดีที่สุดควรค่าแก่การเป็นเครื่องบูชา ป้องกันเสนียดจัญไร ขับไล่สิ่งอัปมงคล ภูติผีปีศาจได้ ใช้ทำน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ได้ 


          ตามความเชื่อของชาวฮินดู ใบมะตูมถือเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของชาวอินเดีย เพราะคนอินเดียเชื่อว่าต้นมะตูมนั้นเป็นต้นไม้แห่งพระศิวะ ตามคัมภีร์จตุรมาสมหาตมะยะ ได้กล่าวไว้ว่า ใบมะตูมที่เป็นสามแฉกนั้นแทนพระผู้เป็นเจ้าทั้งสามพระองค์ คือ พระพรหม พระนารายณ์ และพระศิวะ ส่วนในคัมภีร์ไชมินีอรัณยกถากล่าวว่า นางเทราปที พระมหาสีของกษัตริย์ปานฑพทั้ง 5 ได้เคยถวายใบมะตูมที่มีจำนวนถึง 100,000 ใบแด่พระศิวะเพื่อขอพร เครื่องยืนยันว่าใบมะตูมเป็นไม้บูชาแห่งองค์ศิวะเทพคือ ชาวฮินดูมักจะเขียนรูปศิวลึงค์กับใบมะตูมไว้ด้วยกันเสมอ บ้างก็ว่าต้นมะตูมเกิดจากตรีพระนารายณ์ บางทีก็ว่าเสมือนอาวุธคู่พระทัยของพระศิวะนั่นคือตรีศูร และอีกอย่างครับ ชาวฮินดูมักจะใช้ใบมะตูมบูชาแก่พระศิวะในเทศกาลต่างๆ โดยจะขาดเสียไม่ได้ อย่างน้อยที่สุดคือ 108 ใบ 
           ใบมะตูม ใช้บูชาเทพเจ้าทางฮินดูได้ทุกพระองค์ 
           ใบสะเดา ใช้บูชาทางสายศักตินิกายคือใช้บูชาเจ้าแม่ 
          ใบกระเพาะหรือกระเพาะแดง ใช้บูชาในสายของไวษณพนิกายหรือบูชาพระนารายณ์และพระนางลักษมี 108 ใบ กับ 108พระนาม พระศิวะน่ะครับ สวดจบ๑พระนาม ก็วางลง๑ใบ หรืออีกบทนึงที่นิยมสวดเวลาถวายก็ โอม ตัสมัย จักรายะ นมัส ศิวายะ 
ที่มา : http://www.nanagarden.com

วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

ต้นกันเกรา

            ในวันนี้กระผมภูมิใจเสนอ ไม้มงคลที่มีชื่อว่า  ต้นกันเกรา กันเกราเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ขึ้นโดยทั่วไปในทุกภาคของไทย ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนจะออกดอกเป็น ช่อสีเหลือง มีกลิ่นหอมขจรขจาย ต้นกันเกรามีชื่อเรียกอื่นว่า มันปลา ตำเสา มะซูไม้ต้น 
           กันเกรามีชื่อเรียกต่างกันไปคือ ภาคกลาง เรียก กันเกรา ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก มันปลาส่วนภาคใต้ เรียก ตำแสง หรือตำเสา ซึ่งถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง อันมีชื่อเป็นมงคลและมีคุณสมบัติที่ดีในการใช้ประโยชน์ คือชื่อกันเกรา หมายถึง กันสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายไม่ให้มาทำอันตรายใดๆ ชื่อตำเสา คือ จะเป็นมงคลแก่เสาบ้านไม่ให้ปลวก มอด แมลงต่างๆเจาะกิน ชื่อมันปลา น่าจะเป็นลักษณะของดอกที่เหมือนกับไขมันของปลาเมื่อลอยน้ำไขมันของปลาในถ้วยน้ำแกง โดยเฉพาะช่วงข้าวใหม่ปลามันที่ปลาจะมีความมันและเอร็ดอร่อยเป็นที่สุด
    นอกจากนี้ต้นกันเกราจัดเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์ และเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยนครพนม และมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดอีกด้วย

 
              ชื่อสามัญ : Anan, Tembusu
              ชื่อวิทยาศาสตร์ : Fagraea fragrans Roxb. จัดอยู่ในวงศ์ GENTIANACEAE 
          ใบกันเกรา

           ใบกันเกรา ลักษณะของใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ใบเป็นรูปรี สีเขียวเข้มเป็นมัน ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างเหนียว ใบกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร
ผลกันเกรา
           ผลกันเกรา ลักษณะผลเป็นผลเดี่ยวทรงกลม มีรสขม เส้นผ่านผ่าศูนย์กบางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ผิวเรียบเป็นมัน มีติ่งแหลมๆสั้นๆ อยู่ตรงปลายสุด ผลอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเป็นสีแดงเลือดนก จะติดผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน และในผลมีเมล็ดเล็กๆจำนวนมาก สีน้ำตาลไหม้ มีรูปทรงไม่แน่นอน ฝังอยู่ในเนื้อนุ่มๆ สีแดง




วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

ต้นราชพฤกษ์

ในวันนี้กระผมขอนำเสนอไม้มงคลที่มีชื่อว่า...ต้นราชพฤกษ์...
             ราชพฤกษ์ หรือ คูน เป็นไม้มงคลและเป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดีย พม่า และศรีลังกา ดอกราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในที่โล่งแจ้ง 
          ต้นราชพฤกษ์เป็นต้นไม้มงคลนิยมใช้ประกอบพีธีที่สำคัญ เช่น พีธีเสาไม้หลักเมือง เป็นส่วนประกอบในการทำคฑาจอมพล และ ยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร ทำพิธีปลูกบ้าน ฯลฯ
       คนไทยในสมัยโบราณเชื่อว่า ควรปลูกต้นราชพฤกษ์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่อยู่อาศัย เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านเรือนมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นทวีคูณ ซึ่งความเป็นจริงคือทิศดังกล่าวจะได้รับแดดจัดตลอดช่วงบ่าย จึงควรปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อให้ลดความร้อนและทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น
       คนไทยในสมัยโบราณยังมีความเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นราชพฤกษ์ไว้ประจำบ้านจะช่วยให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรี ด้วยคนไทยส่วนใหญ่ยอมรับว่าต้นราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าสูงและยังเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยอีกด้วย นอกจากนี้มีความเชื่อว่า ใบของต้นราชพฤกษ์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะในพิธีทางไสยศาสตร์ให้ใบทำน้ำพุทธมนต์สะเดาะเคราะห์ได้ผลดีดังนั้นจึงถือว่าต้นราชพฤกษ์เป็นไม้มงคลนาม
        ส่วนคำว่า “ราชพฤกษ์” มีความหมายว่า “ต้นไม้ของพระราชา” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของงานมหกรรมพืชสวนโลกซึ่งจัดขึ้นเพื่อฉลองในวโรกาสอันเป็นมหามงคล ที่พระเจ้าอยู่หัวของเราได้ทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปี
       ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Cassia fistula
                     ลักษณะ  : ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 10-20 เมตร 
                           ดอก : ดอกขึ้นเป็นช่อยาว 20-40 เซนติเมตร
                             ผล : ผลยาว 30-62 เซนติเมตร และกว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร 
                           


 
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/ราชพฤกษ์

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

ต้นชัยพฤกษ์

            ไม้ดอกไม้ประดับมากมายที่นิยมปลูกเลี้ยงกันมากในประเทศไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการปลูกเลี้ยงเพื่อการค้า ปลูกเลี้ยงด้วยใจรักในความสวยงาม หรือเพื่อเป็นสิริมงคลตามความเชื่อถือ แต่ด้วยภูมิปัญญาและความอุตสาหะของคนไทย ทำให้ไม้ดอกไม้ประดับเหล่านี้ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์จนมีสายพันธุ์ที่ดีขึ้น สวยขึ้น และมีความหลากหลายของสีสันมากขึ้น ทั้งที่พันธุ์ไม้บางชนิดมีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศ กระผมก็เป็นอีกคนหนึ่งที่หลงใหลชมชอบสีสันและความสวยงามของพันธุ์ไม้เล่านั้น จึงจัดทำ Blog นี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ในการปลูกเลี้ยง การขยายพันธุ์ เกร็ดความรู้ต่างๆ รวมทั้งตัวอย่างสายพันธุ์ไม้มงคลที่กระผมชอบมานำเสนอ เพื่อให้ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับไม้ประเภทนี้ ได้เข้ามาศึกษาเป็นความรู้...น่ะคับ
            ในวันนี้กระผมก็ขอนำเสนอ ไม้มงคลที่มีชื่อว่า.....ต้นชัยพฤกษ์.....


          ชัยพฤกษ์ เป็นไม้มงคล ตามชื่อ หมายถึงต้นไม้แห่งชัยชนะ ใบใช้ประดิษฐ์เป็นพวงมาลัยสวมศีรษะ เพื่อเป็นเกียรติยศยิ่งใหญ่ แก่กวีและนักดนตรีในสมัยโบราณ สำหรับของไทย ช่อชัยพฤกษ์ประดับเป็นมงคลหลายที่ เช่น บนอินทรธนูข้าราชการ และประดับประกอบดาวบนอินทรธนูและหมวกของทหารและตำรวจทั้งหลาย 
           คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นชัยพฤกษ์ไว้ประจำบ้านจะช่วยทำให้เกิดความประสบผลสำเร็จในชีวิตเพราะต้นชัยพฤกษ์ เป็นต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความชัยชนะ และความอิสระแห่งผล นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่าต้นชัยพฤกษ์เป็นต้นไม้ของเทพเจ้า เพราะต้นชัยพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ไม้ทิพย์มีคุณวิเศษตามตำนานพระพุทธเจ้าในสมัยโบราณดังนั้นต้นชัยพฤกษ์จึงเป็น
ไม้มงคลนาม

          เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นชัยพฤกษ์ไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้มีคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ถ้าจะให้เป็นมงคลยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือและเป็นผู้ประกอบคุณงามความดี ก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก   
          ตำนานนี้ปรากฏในเทพปกรณัมของกรีก มีอยู่ว่า มีนางอัปสรนางหนึ่งชื่อ ดาฟเน่ (daphne) เป็นลูกสาวของเทพประจำแม่น้ำสายหนึ่งชื่อพีนีอูสวันหนึ่งดาฟเน่ออกไปเที่ยวเล่นริมป่าไม่ไกลจากแม่น้ำ เธอได้พบกับเทพอพอลโลหรือสุริยเทพเข้าโดยบังเอิญ เทพอพอลโลหลงรักเธอโดยทันที และพยายามฝากรักด้วยคำที่นุ่มนวล แต่ความพยายามนั้นไร้ผล เมื่ออพอลโลสืบเท้ายังไม่ทันเข้าใกล้ เธอก็วิ่งไม่คิดชีวิต เค้ายิ่งวิ่งตามเธอก็ยิ่งวิ่งหนี และวิ่งหน้าสู่แม่น้ำ โดยตระหนักว่าตัวเธอเองเริ่มอ่อนแรง และเค้าที่เป็นคนแปลกหน้าใกล้ถึงตัวแล้ว พอดีถึงริมฝั่งน้ำจึงร้องขอให้พ่อของเธอช่วย สิ้นคำร้องขอ ร่างของเธอค่อยกลายเป็นต้นไม้โดยเท้าทั้งคู่เปลี่ยนเป็นราก แขนทั้งสองข้างและผมพลิ้วสยายกลายเป็นกิ่งก้านใบ เสื้อผ้าเปลี่ยนเป็นเปลือกห่อหุ้มลำต้นที่ยังสั่นไหวด้วยความกลัว ดาฟเน่ได้กลายเป็นต้นชัยพฤกษ์ไปแล้วด้วยความช่วยเหลือของบิดาอพอลโลมาถึงก็ทราบทันทีว่าเธอได้จากไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้ถือโทษโกรธเคืองเธอแต่อย่างใด จึงมีบัญชาให้ไม้ชัยพฤกษ์เป็นไม้ที่พึงใจส่วนพระองค์ และใครๆ สามารถเก็บช่อใบร้อยเป็นพวงสวมศีรษะเป็นเกียรติยศแก่กวีและนักดนตรีได้ตลอดไป

          ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia javanical L..subsp. javanica
          ถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย
          ออกดอก :  กุมภาพันธ์ - เมษายน
          ขยายพันธุ์ :  โดยใช้เมล็ด วิธีเพาะเช่นเดียวกับราชพฤกษ์
          ลักษณะทั่วไป : ไม้ต้น  สูงได้ถึง 15  เมตร  ลำต้นสีน้ำตาล ทรงพุ่ม


ที่มา : th.wikipedia.org/wiki/ชัยพฤกษ์