กันเกรามีชื่อเรียกต่างกันไปคือ ภาคกลาง เรียก กันเกรา ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก มันปลาส่วนภาคใต้ เรียก ตำแสง หรือตำเสา ซึ่งถือเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง อันมีชื่อเป็นมงคลและมีคุณสมบัติที่ดีในการใช้ประโยชน์ คือชื่อกันเกรา หมายถึง กันสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายไม่ให้มาทำอันตรายใดๆ ชื่อตำเสา คือ จะเป็นมงคลแก่เสาบ้านไม่ให้ปลวก มอด แมลงต่างๆเจาะกิน ชื่อมันปลา น่าจะเป็นลักษณะของดอกที่เหมือนกับไขมันของปลาเมื่อลอยน้ำไขมันของปลาในถ้วยน้ำแกง โดยเฉพาะช่วงข้าวใหม่ปลามันที่ปลาจะมีความมันและเอร็ดอร่อยเป็นที่สุด
นอกจากนี้ต้นกันเกราจัดเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์ และเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยนครพนม และมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดอีกด้วย
ชื่อสามัญ : Anan, Tembusu
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Fagraea fragrans Roxb. จัดอยู่ในวงศ์ GENTIANACEAE
ใบกันเกรา ลักษณะของใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ใบเป็นรูปรี สีเขียวเข้มเป็นมัน ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างเหนียว ใบกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร
ผลกันเกรา ลักษณะผลเป็นผลเดี่ยวทรงกลม มีรสขม เส้นผ่านผ่าศูนย์กบางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ผิวเรียบเป็นมัน มีติ่งแหลมๆสั้นๆ อยู่ตรงปลายสุด ผลอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเป็นสีแดงเลือดนก จะติดผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน และในผลมีเมล็ดเล็กๆจำนวนมาก สีน้ำตาลไหม้ มีรูปทรงไม่แน่นอน ฝังอยู่ในเนื้อนุ่มๆ สีแดง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น