การปลูกและดูแลรักษา กรรณิการ์เป็นไม้ที่ชอบที่ร่มรำไรและมีความชุ่มชื้นพอควร ดินที่ใช้ปลูกควรจะเป็นดินอุดมสมบูรณ์ ร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ไม่ควรมีน้ำขัง ซึ่งอาจจะทำให้รากเน่าได้ ต้องการน้ำเพียงปานกลางเท่านั้น สามารถขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือปักชำกิ่ง เหมาะที่จะปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้าน เช่น ปลูกเป็นฉากหลัง บังสายตาหรือใช้ปลูกเป็นกลุ่มๆ แต่ควรห่างจากลานนั่งเล่น เพราะดอกจะมีกลิ่นหอมแรงในช่วงเย็น
ความเป็นมงคล
ชาวฮินดูเชื่อกันว่า เป็นดอก ไม้มงคล ที่ใช้บูชาเทพเจ้าต่างๆ อีกคติความเชื่อก็คือ “หากหญิงสาวสวยมาร้องรำทำเพลงที่ต้นกรรณิการ์ ก็จะทำให้ต้นกรรณิการออกดอกสวยงาม” กรรณิการ์ ยังเป็นต้นแม้ที่เชื่อมั่นว่า หากบ้านเมืองใดปลูกก็จะนำความสุขความ เจริญูมาให้กับคนภายในบ้าน นอกจากความเป็นมงคลแล้วยังมี สรรพคุณด้านสมุนไพร แก้ปวดตามข้อ บำรุงน้ำดีเป็นยาระบาย ช่วยให้เจริญูอาหาร และยังสามารถนำมาทำเป็นสีย้อมผ้าจีวรของพระเเละใช้เป็นสีทำขนม
กรรณิการ์ ชื่อสามัญ Night blooming jasmine, Night Jasmine, Coral Jasmine กรรณิการ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Nyctanthes arbor-tristis Linn. จัดอยู่ในวงศ์ VERBENACEAE บ้างก็ระบุว่าอยู่ในวงศ์ OLEACEAE
หมายเหตุ : P.S.Green ระบุว่าสกุล Nyctanthes มีความใกล้ชิดกับวงศ์ VERBENACEAE มากกว่าวงศ์ OLEACEAE อย่างไรก็ตามข้อมูลในด้านวิวัฒนาการในปัจจุบันจัดให้สกุล NYCTANTHES อยู่ภายใต้วงศ์ OLEACEAE และอยู่ในวงศ์ย่อย MYXOPYREAE
สรรพคุณของกรรณิการ์
- รากมีรสขมฝาด ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ (ราก)
- แก้วาโยกำเริบเพื่ออากาศธาตุ (ราก)
- ช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก)
- รากใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (ราก)
- ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (ราก)
- ช่วยแก้โลหิตตีขึ้น (ดอก)
- ใบมีรสขม ช่วยทำให้เจริญอาหาร ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 1 กำมือ เติมน้ำคั้นลงไปแล้วคั้นเอาแต่น้ำ 1 ถ้วยแก้ว ใช้แบ่งรับประทาน 4 ครั้ง ถ้ากินมากจะมีฤทธิ์เป็นยาระบาย (ใบ)
- ช่วยแก้ตานขโมย (ใบ)
- ช่วยบำรุงเส้นผม แก้เส้นผมหงอก ด้วยการใช้ใบ (ไม่แน่ใจว่าใช่ใบหรือไม่) นำไปแช่กับน้ำมันมะพร้าวประมาณ 1-2 คืน ก็จะได้น้ำมันที่มีสีเหลืองอ่อนๆ สำหรับนำมาใช้ทาหมักผมก่อนนอน จะช่วยป้องกันผมหงอกก่อนวัยได้ (ราก)
- ช่วยบำรุงผิวหนังให้สดชื่น (ราก)
แหล่งทื่มา : th.wikipedia.org/wiki/กรรณิการ์ , frynn.com › สมุนไพร , auspicious-tree.blogspot.com2010
ดอกสวยมากครับwww.krataiku.com
ตอบลบ